ประเภทของไมโครโฟน

ประเภทของไมโครโฟน
อ้างอิง อ่าน 4804 ครั้ง / ตอบ 1 ครั้ง

avlthailand
ไมโครโฟน 
คืออุปกรณ์รับเสียงแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า 
เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียง
ไมโครโฟนประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก 
เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟน จะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก 
จึงทำให้เกิดเป็นสัญญาณไฟฟ้า

ไมโครโฟน แบ่งตามหลักการทางไฟฟ้า ได้ 2 ประเภท คือ แบบไดนามิค และ แบบคอนแดนเซอร์
ซึงจะมีความแตกต่างกันดังนี้

ไดนามิกไมโครโฟน หรือมูฟวิ่งคอยล์ (Dynamic or Moving Coil Microphones)
ทำงานโดยให้แผ่นไดอะแฟรม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมมีขดลวด
พันยึดติดอยู่รอบ ๆ เคลื่อนไปมาระหว่างแม่เหล็กถาวร การเคลื่อนที่เกิดจาก
แรงสั่นสะเทือนของเสียง ซึ่งทำให้ไดอะแฟรมสั่นสะเทือนพร้อมทั้งทำให้ขดลวดที่อยู่ภายในเคลื่อนที่ไปด้วย ซึ่งทำให้เกิดการเหนี่ยวนำกับแม่เหล็กจึงสร้างกระแสไฟอ่อน ๆ เพื่อส่งไปยังเครื่องขยายเสียงได้ ไดนามิคไมค์มีความทนทานในการใช้งาน ทนต่อการตกหรือกระแทกและทนต่อเกิดอาการกระชากของเสียงได้ดี
ส่วนข้อเสียคือให้ความไวและรัศมีในการรับเสียงที่ไม่ดีเท่าคอนแดนเซอร์ไมค์และยังตอบสนองต่อความถี่ได้ไม่เต็มโดยเฉพาะย่านความถี่สูง

คอนแดนเซอร์ไมโครโฟน (Condenser microphones)
เป็นไมโครโฟนที่ใช้วงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ หลักการทำงานยังใช้ไดอะแฟรม
เป็นตัวรับเสียงเหมือนแบบไดนามิค ซึ่งมักทำจากแผ่นพลาสติกเคลือบทองยึดติดอยู่เหนือ blank plate (ทำจากเซรามิกเคลือบทอง)ซึ่งทำให้มีช่องว่างเล็ก ๆ เพื่อการเคลื่อนตัวไปมาซึ่งการเคลื่อนตัวที่ว่านี้จะทำให้แผ่นไดอะแฟรม เคลื่อนที่เข้าหา blank plate แตะกันทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปมาได้ด้วยไฟฟ้าที่มาจากแหล่งกำเนิดที่เรียกว่าแฟนทอม (phantom) โดยผ่านตัวเก็บประจุ ซึ่งจะมีขั้วบวกและลบอยู่ โดยขั้วบวกและลบจะถูกต่อไว้ที่ไดอะแฟรม คนละแผ่นดังนั้นทุกครั้งที่ไดอะแฟรม เคลื่อนที่เข้ามาหากันประจุไฟฟ้าก็จะถูกเหนี่ยว
นำและมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแรงของเสียงที่มากระทบไดอะแฟรมนั่นเอง 
หากแรงมากไดอะแฟรม ก็แตะกันนานขึ้นกระแสไฟฟ้าก็ไหลได้มากขึ้นตรงข้ามหาก
แตะกันเร็วก็ไหลได้น้อยลงผลของการไหลนี่เองจะถูกส่งผ่านไปยังปรีแอมป์เพื่อขยาย
ให้แรงพอที่จะป้อนเข้าสู่มิกเซอร์ เนื่องมาจากคอนเดนเซอร์ไมค์ใช้วงจรทางอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยและต้องใช้ไฟมาเลี้ยงซึ่งมีตั้งแต่ 1.5 ไปจนถึง 48 โวลต์ (volts)ดังนั้นความไวต่อการรับเสียงซึ่งสูงมากและสามารถตอบสนองต่อเสียงได้ราบรื่นตลอดย่านความถี่อีกด้วยจึงเหมาะมากสำหรับการบันทึกสัญญาณต่าง ๆ เช่น เสียงร้อง เครื่องดนตรีแบบอะคูสติกหรือจับสัญญาณเสียงที่ไม่ดังมาก แต่ไม่เหมาะกับการบันทึกสัญญาณที่แรงมากเช่นเสียงจากตู้แอมกีตาร์ ซึ่งอาจทำความเสียหายต่อไดอะแฟรมได้ง่าย
            ดังนั้นทั้งไดนามิกไมค์ (Dynamic microphones) และคอนเดนเซอร์ไมค์ (Condenser microphones) ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป การใช้ง่านจึงขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ท่านนำไปใช้ด้วย
 
avlthailand avlthailand@gmail.com [124.122.220.xxx] เมื่อ 6/07/2021 09:22
1
อ้างอิง

รวมคลิ๊ปโป๊
 
รวมคลิ๊ปโป๊ [171.97.46.xxx] เมื่อ 6/07/2021 09:22
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :